วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Basic Knowledge of Photogrammetry

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสำรวจด้วยภาพถ่าย
Basic Knowledge of Photogrammetry
การสำรวจด้วยภาพถ่ายเป็นศาสตร์และเทคโนโลยีของการรังวัดหาตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของ วัตถุโดยอาศัยการ วัดบนภาพถ่ายเป็นสำคัญ การสำรวจด้วยภาพถ่าย ประกอบด้วยกระบวนการ และเครื่องมือที่สลับซับซ้อน เนื่องจากการใช้ภาพเป็น สื่อกลางในการจัดเก็บข้อมูล และการวัด จึงมี ข้อจำกัดของความละเอียดถูกต้องที่ระดับหนึ่ง การสำรวจด้วยภาพถ่าย มีทั้งการสำรวจด้วย ภาพถ่ายทางอากาศ (aerial photogrammetry) การสำรวจด้วย ภาพถ่ายระยะใกล้ (close-range photogrammetry) การสำรวจด้วย ภาพถ่ายภาคพื้นดิน (terrestial photogrammetry) การสำรวจด้วย ภาพถ่าย ทางอากาศ เป็นลักษณะงานที่มีการใช้แพร่หลายมากที่สุด โดย ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำ ไปใช้ในการผลิต แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภูมิศาสตร์ แผนที่ภาพ (image map หรือ photo map) ตลอดจน การสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ปัจจุบันการสำรวจด้วยภาพถ่ายได้อาศัยเทคโนโลยีการประมวลผลภาพดิจิตอล (digital image processing) ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับงานการสำรวจด้วยภาพถ่ายที่เรียกว่า digital photogrametric workstation หรือสามารถ นิยามสาขาใหม่ของวิทยาการนี้ว่า softcopy photogrammetry ซึ่งจะใช้งานกับภาพถ่ายเมื่อได้ทำการแปลงภาพถ่าย ทางอากาศให้ อยู่ในรูปดิจิตอลโดยการใช้เครื่องกวาดภาพสำหรับงานสำรวจด้วยภาพถ่าย (photogrammetric scanner) ซึ่งเป็นเครื่องกวาดภาพที่มีความละเอียดสูงตั้งแต่ 5 ไมครอน และมีความถูกต้องทางตำแหน่งในระดับไมครอน เช่น เครื่องกวาดภาพ VexScan5000
งานสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศมีข้อได้เปรียบการสำรวจด้วยวิธีอื่นๆคือ ครอบคลุม พื้นที่กว้าง มีการทำงานในสนาม เพียงบางส่วน มีการรังวัดบนวัตถุในสามมิติโดยไม่ต้อง เข้าถึงโดยตรง หาก ว่าวัตถุนั้นปรากฎให้เห็นบนภาพถ่ายได้ ผลลัพธ์ที่ได้จากงาน สำรวจด้วยภาพถ่ายคือ แผนที่ลายเส้น เส้นชั้นความสูงและแบบจำลองความสูง แผนที่ภาพที่ดัด แก้ความผิดเพี้ยน (rectified photograph) ตลอดภาพถ่ายดัดแก้ออโธ (orthorectified photo) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตแผนที่ ดิจิตอลวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้อย่าง รวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้าง
สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการ องค์ความรู้ งานวิจัย การศึกษา องค์กรวิชาชีพ ทางการสำรวจด้วยภาพถ่าย สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากลิงค์ต่อไปนี้ซึ่งจะนำไปสู่ ่ลิงค์ต่อๆไป
International Society of Photogrammetry and Remote Sensing HomePage
American Society of Photogrammetry and Remote Sensing (ASPRS) Home Page

http://student.nu.ac.th/geo/document.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น