วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปรับ Level -> Curve -> Saturation

การปรับแต่งนั้นมีรูปแบบที่ซับซ้อนตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ผมอธิบาย Workflowการปรับคร่าวๆ ก่อนแล้วกันครับ แล้วคุณ BabyPlam2003ค่อยนำไปปรับปรุงใช้งานแล้วกันนะครับ
เราเริ่มต้นที่ Levelก่อนครับเพื่อปรับคอนทราสของภาพโดย ดูที่ Histogramของภาพ ว่ากราฟของHistogramนั้นมีจุดสิ้นสุดทางโทนมืด(0)และจุดสิ้นสุดทางโทนสว่าง(255) อยู่ตรงจุดใด จากนั้นให้เราเลื่อนจุดสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านล่างให้มาอยู่ตรงบริเวณจุดสิ้นสุืุดของกราฟทั้ง2ด้าน เพื่อปรับคอนทราสของภาพ จากนั้นดูว่าภาพนั้นมีความสว่างมากน้อยเพียงพอต่อความต้องการหรือยัง หากเราต้องการปรับในด้าน Midtoneก็ให้ใช้จุดสามเหลี่ยมตรงการ(128)ในการที่จะปรับไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อให้ภาพมืดหรือสว่างตามต้องการ
ต่อมาเราก็ปรับที่ Curve การปรับที่ Curveนั้นคล้ายกับการปรับที่ Levelแต่ีที่ Curveนี้ เราสามารถปรับได้ละเอียดยิ่งขึ้น เราสามารถ Plotจุดตัดได้ถึง14จุด บน Curve เพื่อปรับ Levelต่างๆ ระหว่างโทนสี 0-255 ได้เฉพาะจุด หรือเฉพาะสี R-G-Bอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด แต่โดยทั่วๆ ไป เราจะยกบริเวณโทนกลางของ Curveขึ้นไป เพื่อให้ได้ภาพสว่างตามต้องการ ในการกรณีภาพที่ปรับนั้น มีความสว่างไม่เพียงพอ หลังจากเพิ่ม Midtoneสว่างตามความต้องการแล้ว เราก็จะมาลด Curveตรงบริเวณโทนมืด(0)และเพิ่มโทนสว่าง(255)อีกครั้งหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปตัว Sเพื่อรักษา Contrastของภาพให้เหมาะสม
เมื่อปรับความสว่างและคอนทราสของภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็มาดูว่าภาพที่ได้นั้นมีปริมาณความเข้มของสีเพียงพอหรือเปล่า ถ้ายังไม่เพียงพอก็ให้เพิ่ม Saturationตามความต้องการ หรือใช้ Functionนี้ปรับความเข้มของสีให้สมดุลย์ ในแต่ละ Channel R-G-Bเพือให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ

http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=12500

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พบน้ำบนดวงจันทร์

มีน้ำบนดวงจันทร์อย่างเป็นทางการ ข้อมูลใหม่จากจันทรายาน-1(Chandrayaan-1) ของอินเดีย พร้อมทั้งข้อมูลสนับสนุนที่รวบรวมได้ในการบินผ่านดวงจันทร์ของยานดีพ อิมแพค(ในปฏิบัติการภาคต่อ Epoxi-ผู้แปล) และยานแคสสินี ได้ให้หลักฐานการมีน้ำในดินดวงจันทร์ หลุมอุกกาบาตอายุน้อยแห่งหนึ่งเมื่อมองด้วย Moon Mineralogy Mapper ทางขวาแสดงการกระจายตัวของแร่ธาตุที่อุดมด้วยน้ำเป็นสีฟ้า สีเพี้ยน : Carle Pieters จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ผู้เขียนนำรายงานหนึ่งในสามฉบับที่เผยแพร่รายละเอียดและผลสรุปใหม่ๆ ในวารสาร Science กล่าวว่า ดวงจันทร์ยังคงตั้งหน้าตั้งตาสร้างความประหลาดใจให้กับเรา Pieter เป็นผู้นำทีมเครื่องทำแผนที่แร่ธาตุวิทยาดวงจันทร์(Moon Mineralogy Mapper –M3) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ติดตั้งบนจันทรายาน มีการตรวจพบน้ำบนพื้นผิวดวงจันทร์อยู่ทั่วไป เราต้องคิดนอกกรอบ นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวังเมื่อสิบปีก่อน ผลสรุปใหม่ปรากฏตามกระแสประกาศโดยทีม Lunar Reconnaissance Orbiter(LRO) ก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อยซึ่งแสดงหลักฐานน้ำแข็งที่ขั้วดวงจันทร์ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะมีการชนของ Lunar Crater Observation Sensing Satellite(LCROSS) ที่หลุมอุกกาบาตในเงามืดถาวรแห่งหนึ่งในวันที่ 9 ตุลาคม เพื่อที่จะสาดเศษซากน้ำแข็งออกมาให้ LRO และกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินและในอวกาศได้วิเคราะห์ขณะนี้ ข้อมูลใหม่จาก M3 ของจันทรายาน-1 ได้แสดงว่ายังคงมีน้ำก่อตัวขึ้นบนดวงจันทร์ การค้นพบนี้ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่สำหรับการสำรวจดวงจันทร์ด้วยมนุษย์อวกาศในอนาคต เมื่อนักบินอวกาศสามารถใช้แหล่งน้ำเพื่อการดื่มกิน, สกัดออกซิเจนเพื่อหายใจและใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง แม้ว่าดวงจันทร์จะแห้งแล้งกว่าทะเลทรายใดๆ บนโลก ผลสรุปใหม่ก็บอกว่า ดินขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร น่าจะให้น้ำได้ 1 ลิตร ยิ่งกว่านั้น โมเลกุลน้ำที่พบทั่วทั้งพื้นผิวดวงจันทร์ และไม่ได้อยู่เฉพาะเพียงที่ขั้วซึ่งหนาวเย็น Pieters กล่าวว่า เราได้รุกหน้าย่างก้าวที่สำคัญจากการค้นพบนี้ และขณะนี้ก็ยังมีก้าวย่างสำคัญอีกมากมายที่จะต้องตามติดต่อไป M3 ได้ตรวจพบการมีอยู่ของน้ำโดยหาสัญญาณการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงอินฟราเรดที่เปล่งจากแร่ธาตุบนหรือใต้พื้นผิว ทีม M3 พบว่าความยาวคลื่นของแสงที่ตรวจพบโดยเครื่องมือนั้นสอดคล้องกับรูปแบบการดูดซับคลื่นของโมเลกุลน้ำ(H20) และโมเลกุลไฮดรอกซิล(OH) ข้อมูลยังแสดงว่าน้ำถูกสร้างขึ้นทุกๆ วัน หมุนเวียนผ่านกระบวนการที่สูญเสียและได้น้ำ ทีม M3 พบโมเลกุลน้ำและไฮดรอกซิลในพื้นที่ต่างๆ บนพื้นผิวดวงจันทร์ที่อาบแสง แต่สัญญาณน้ำปรากฏแรงขึ้นในละติจูดสูงขึ้นบนดวงจันทร์ ก่อนหน้านี้เคยสงสัยว่าจะพบโมเลกุลน้ำและไฮดรอกซิลในข้อมูลจากแคสสินีเมื่อบินผ่านดวงจันทร์ในปี 1999 แต่การค้นพบก็ไม่ได้เผยแพร่รายละเอียดจนกระทั่งบัดนี้ Roger Clark นักวิทยาศาสตร์ธรณีวิทยาสำรวจ ที่เดนเวอร์ กล่าวว่า ข้อมูลจากเครื่องมือ VIMS ของแคสสินีและ M3 สอดคล้องกันมาก เขาเป็นสมาชิกทีมทั้ง VIMS และ M3 เราเห็นทั้งน้ำและไฮดรอกซิล ขณะที่ยังไม่ทราบปริมาณที่แน่นอน เพื่อการยืนยันให้มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์หันเหไปที่ปฏิบัติการ Epoxi ซึ่งมันบินผ่านดวงจันทร์ในเดือนมิถุนายน 2009 เพื่อที่จะเดินทางไปพบกับดาวหางฮาร์ทลีย์ 2(Hartley 2) ในเดือนพฤศจิกายน 2010 ผลจากยานไม่เพียงแต่ยืนยันการค้นพบของ VIMS และ M3 แต่ยังขยายความด้วยJessica Sunshine ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการปฏิบัติการ Epoxi ซึ่งก็สำรวจหาสัญญาณน้ำและไฮดรอกซิลบนดวงจันทร์ กล่าวว่า ด้วยช่วงสเปคตรัมที่กว้างและมุมมองเหนือขั้วเหนือดวงจันทร์ เราสามารถสำรวจการกระจายของทั้งน้ำและไฮดรอกซิล ตามอุณหภูมิ, ละติจูด, องค์ประกอบ และช่วงเวลา นอกจากจะทำงานกับ Epoxi แล้วเธอยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ทีม M3 ด้วย การพบน้ำบนดวงจันทร์ในช่วงกลางวันเป็นเรื่องที่เซอร์ไพรส์อย่างมาก แม้ว่าจะพบน้ำเพียงเล็กน้อย และก็อยู่ในรูปของโมเลกุลที่ยึดติดกับดิน ในข้อมูลดีพ อิมแพค เราได้เห็นโมเลกุลน้ำก่อตัวขึ้นและก็หายไปต่อหน้าต่อตา เธอกล่าวว่า เรายังคงไม่ทราบแน่ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่การค้นพบบอกถึงวัฏจักรที่ขับเคลื่อนโดยดวงอาทิตย์ ในที่ซึ่งชั้นน้ำอาจจะหนาเพียงไม่กี่โมเลกุลได้ก่อตัวขึ้น, หายไป และกลับมาอยู่บนพื้นผิวทุกๆ วัน ตอนเที่ยงวัน การดูดซับคลื่นนั้นอ่อนแต่ในตอนกลางคืนมันก็แรงขึ้น เรากำลังได้เห็นวัฏจักรทั้งปวงของการสูญเสียและกลับคืนของน้ำ ในช่วงวัน ลมสุริยะซึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนไอออน จะทำปฏิกริยากับแร่ธาตุที่อุดมด้วยออกซิเจนในดินดวงจันทร์เพื่อก่อตัวและสะสมเป็นไฮดรอกซิลและน้ำ น้ำจะสูญเสียในช่วงเที่ยงวัน เมื่อมันร้อนขึ้น แต่เมื่อมันเย็นลงในเวลากลางคืน มันก็สามารถสะสมน้ำได้อีก คำอธิบายเหล่านี้มีความสำคัญต่อองค์ความรู้ของระบบสุริยะทั้งปวง Sunshine กล่าวว่า วัฏจักรนี้หมายถึงว่าไม่ว่าจะตำแหน่งและภูมิประเทศอย่างไร พื้นที่ทั้งหมดของดวงจันทร์ก็จะสูญเสียน้ำในระหว่างกลางวัน ซึ่งอาจจะเป็นคำอธิบายถึงกระบวนการคล้ายๆ กันที่จะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำอย่างนี้ ในสภาพแวดล้อมบนวัตถุที่ไม่มีชั้นบรรยากาศและเต็มไปด้วยแร่ธาตุที่อุดมด้วยออกซิเจนอย่างที่ดาวพุธ นักวิทยาศาสตร์ยังเสนอสมมุติฐานการปรากฏของแร่ธาตุที่มีน้ำอยู่ ข้อมูลยืนยันว่าน้ำมีอยู่ที่เหนือพื้นผิวดวงจันทร์หนึ่งหรือสองมิลลิเมตร แต่มันก็อาจจะปรากฏเป็นชั้นโมเลกุลเดี่ยวๆ มันอาจจะรวมตัวหรืออยู่ในรูปแบบแร่ธาตุที่แปรสภาพไปบนพื้นผิว นักวิทยาศาสตร์ยังสงสัยว่าโมเลกุลน้ำอพยพจากละติจูดสูงไปที่ขั้วซึ่งเย็นกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ลึก อยู่ในความมืดของหลุมอุกกาบาตเก่าแก่ที่ซึ่งการนำส่งน้ำน่าจะมาจากการชนของดาวหางที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงแรกๆ ของการเกิดดวงจันทร์ ถ้าโมเลกุลน้ำเคลื่อนย้ายได้เหมือนกับที่เราคิด แม้แต่ส่วนน้อยๆ พวกมันก็จะให้กลไกที่จะนำน้ำไปสู่หลุมอุกกาบาตในเงามืดถาวรเหล่านั้น Pieters กล่าว นี่จะเปิดเส้นทางใหม่ๆ(ในการวิจัยดวงจันทร์) แต่เราจะต้องเข้าใจฟิสิกส์ของมันเพื่อใช้มันได้ซะก่อนrook :รายงาน แหล่งที่มา:spaceflightnow.com : scientists announce evidence of water on Moon astronomy.com : Deep Impact and other spacecraft find clear evidence of water on Moon science.nasa.gov : water molecules found on the Moon

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การปรับขนาดรูรับแสง




การปรับค่า รูรับแสง หรือค่า F นั้นอาจจะยากสักนิดนึงสำหรับผู้เริ่มเล่นกล้องDSLRผมเองก็เป็นอีกคนที่ประสบปัญหา(มือใหม่พอๆกัน555+)
การเข้าใจเกี่ยวกับขนาดของรูรับแสงนั้นหากอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆเลยก็คือ หากว่าค่า F ยิ่งมากขนาดรูรับแสงจะยิ่งแคบลงน่ะเอง เหอๆ













ลักษณะความชัดลึกของภาพถ่าย DOF (Depth of field)





ลักษณัภาพชัดลึก


รูปของบานประตูจะมีลักษณะเบลอเนื่องจากไม่ไช่วัตถุหลักแต่หากมองไปที่รูปของคนในภาพจะสังเกตุได้ว่ามีลักษณะชัดเช่นเดียวกัยวัตถุในพื้นหลัง



ลักษณะภาพชัดตื้น
เช่นเดียวกับภาพชัดลึกเพียงแต่สลับกันระหว่าง
วัตถุหลักและวัตถุรอง
จากลูกศรสีแดงชี้พี่หมาของคณะเกษตรจะเห็นว่ามีลักษณะเด่นที่สุดเนื่องจากเป็นการเล็งโฟกัสไปยังจุดหลักที่ต้องการ
และลุกศรสีน้ำเงินที่ชี้ไปทางต้นไม้ด้านหลังจะเห็นว่าเมื่อไม่ไช่จุดสังเกตุหลักก็จะเบลอไปตามระเบียบ






อันนี้ก็มีความรู้เท่านี้ล่ะครับ อยากรู้มากกว่านี้ก็ต้องถามผู้รู้ล่ะอันนี้จากประสบการณ์ล้วนๆถูกเปล่าไม่รู้

Basic Knowledge of Photogrammetry

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสำรวจด้วยภาพถ่าย
Basic Knowledge of Photogrammetry
การสำรวจด้วยภาพถ่ายเป็นศาสตร์และเทคโนโลยีของการรังวัดหาตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของ วัตถุโดยอาศัยการ วัดบนภาพถ่ายเป็นสำคัญ การสำรวจด้วยภาพถ่าย ประกอบด้วยกระบวนการ และเครื่องมือที่สลับซับซ้อน เนื่องจากการใช้ภาพเป็น สื่อกลางในการจัดเก็บข้อมูล และการวัด จึงมี ข้อจำกัดของความละเอียดถูกต้องที่ระดับหนึ่ง การสำรวจด้วยภาพถ่าย มีทั้งการสำรวจด้วย ภาพถ่ายทางอากาศ (aerial photogrammetry) การสำรวจด้วย ภาพถ่ายระยะใกล้ (close-range photogrammetry) การสำรวจด้วย ภาพถ่ายภาคพื้นดิน (terrestial photogrammetry) การสำรวจด้วย ภาพถ่าย ทางอากาศ เป็นลักษณะงานที่มีการใช้แพร่หลายมากที่สุด โดย ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำ ไปใช้ในการผลิต แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภูมิศาสตร์ แผนที่ภาพ (image map หรือ photo map) ตลอดจน การสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ปัจจุบันการสำรวจด้วยภาพถ่ายได้อาศัยเทคโนโลยีการประมวลผลภาพดิจิตอล (digital image processing) ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับงานการสำรวจด้วยภาพถ่ายที่เรียกว่า digital photogrametric workstation หรือสามารถ นิยามสาขาใหม่ของวิทยาการนี้ว่า softcopy photogrammetry ซึ่งจะใช้งานกับภาพถ่ายเมื่อได้ทำการแปลงภาพถ่าย ทางอากาศให้ อยู่ในรูปดิจิตอลโดยการใช้เครื่องกวาดภาพสำหรับงานสำรวจด้วยภาพถ่าย (photogrammetric scanner) ซึ่งเป็นเครื่องกวาดภาพที่มีความละเอียดสูงตั้งแต่ 5 ไมครอน และมีความถูกต้องทางตำแหน่งในระดับไมครอน เช่น เครื่องกวาดภาพ VexScan5000
งานสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศมีข้อได้เปรียบการสำรวจด้วยวิธีอื่นๆคือ ครอบคลุม พื้นที่กว้าง มีการทำงานในสนาม เพียงบางส่วน มีการรังวัดบนวัตถุในสามมิติโดยไม่ต้อง เข้าถึงโดยตรง หาก ว่าวัตถุนั้นปรากฎให้เห็นบนภาพถ่ายได้ ผลลัพธ์ที่ได้จากงาน สำรวจด้วยภาพถ่ายคือ แผนที่ลายเส้น เส้นชั้นความสูงและแบบจำลองความสูง แผนที่ภาพที่ดัด แก้ความผิดเพี้ยน (rectified photograph) ตลอดภาพถ่ายดัดแก้ออโธ (orthorectified photo) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตแผนที่ ดิจิตอลวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้อย่าง รวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้าง
สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการ องค์ความรู้ งานวิจัย การศึกษา องค์กรวิชาชีพ ทางการสำรวจด้วยภาพถ่าย สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากลิงค์ต่อไปนี้ซึ่งจะนำไปสู่ ่ลิงค์ต่อๆไป
International Society of Photogrammetry and Remote Sensing HomePage
American Society of Photogrammetry and Remote Sensing (ASPRS) Home Page

http://student.nu.ac.th/geo/document.asp

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"วิถีทาง"

โลกความจริง ที่บางคนยเคยบอกไว้ว่าประเทศไทยจะไม่มีคนจน





ตามหา/สับสน











หลังใหญ่ของเค้า



















ส่วนหนึ่งในสังคมไทย














ชายกลางคน



















เด็กหญิงในงานเทศกาล



















.... เด็กหญิงในภาพยนตร์


















ไม่หยุดนิ่ง




















เดินทั้งสอง

















สว่างและมืด







วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552



Multi-ray Photogrammetry





วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552



12500เองทำงานเข้าเดี๋ยวก็ได้เอง

555+

ชาติไหนวะเนี่ย

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติNikon DSLR


กล้อง DSLR เม้าท์ F ตัวแรกของ Nikon คือ Nikon E-series รุ่น E2/E2N ที่เปิดตัวในงาน Photokina ในเดือน เมษายน ปี ค.ศ. 1994 เป็นกล้องที่สามารถใช้กับเลนส์ Nikkor ได้เหมือนกล้อง Nikon รุ่นอื่นๆ โดย E2 เป็นกล้องที่ถูกพัฒนาร่วมกันระหว่าง Nikon กับ Fuji กล้องจึงมีโลโก้ของทั้งสองบริษัทฯ โดย Nikon ใช้สเปคของกล้อง F4 ที่ถือเป็นกล้องรุ่นสูงสุดของ Nikon ในเวลานั้นมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนา Nikon E2 โดย Nikon E2 มีความเร็วชัตเตอร์ตั้งแต่ 1/8-1/2000
Nikon E2 วางตลาดในทั้งสองชื่อ คือ Nikon และ Fuji โดยมี 2 รุ่นให้เลือกคือ Nikon E2 (Fuji DS-505) และ Nikon E2S (Fuji DS-515) ที่มี spec เหมือนกัน เพียงแต่มีความเร็วของการถ่ายภาพที่ต่างกันคือ 1 ภาพ/วินาที่ และ 3 ภาพ/วินาที ตามลำดับ ราคาจำหน่ายคือ 1,100,000 เยน และ 1,400,000เยน ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (กล้อง Nikon D1 วางตลาดด้วยราคา 650,000เยน) ภาพที่ถ่ายด้วยกล้อง Nikon E2 มีความละเอียด 1.3M บันทึกบน pc card ในฟอร์แมต RS422 หรือ NTSC/PAL หลังจาก E2/E2N วางจำหน่าย Nikon E-Series ยังเปิดตัวกล้อง DSLR อีกหลายรุ่นตามมาคือ E2N/E2NS (1996) และ E3/E3S(1998) หลังจากนั้น Nikon ได้เปิดตัว D-Series รุ่น D1 เป็นกล้อง DSLR ตระกูล D รุ่นแรกจนมาถึง D5000 เป็นกล้องรุ่นล่าสุดในปัจจุบันอย่างที่เราคุ้นกันดีใครที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมของกล้องรุ่นนี้หาอ่านได้ในบางเว็บผ่าน google ได้เลยครับ หรือ อ่านกระทู้นี้แล้วมีข้อมูลอยากเพิ่มเติม ช่วยเสริมเติม/แก้ไขได้เต็มที่ครับ
วันนี้ของเมื่อ 91 ปีที่แล้วก็คือวันที่ 25 ก.ค. ค.ศ. 1917 เป็นวันที่ Nikon Corporation ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ชื่อ Nippon Kogaku K.K. ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษว่า Japanese Optical Company ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Mitsubishi Group และ กองทัพเรือแห่งจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น (the Imperial Japanese Navy) คำว่า Nikon ที่เป็นตราสินค้าในปัจจุบันเกิดจากการนำอักษรนำของชื่อบริษัท คือ NIppon KOgaku มารวมกัน โดยในการก่อตั้งได้มีการนำบริษัทที่ทำด้าน Optical ขนาดเล็กๆ หลายบริษัทฯมาควบรวมกันอยู่ภายใต้การลงทุนของ Nippon Kogaku และเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1918 เพื่อผลิตกล้องส่องทางไกลทั้ง telescope และ binocularให้กับกองทัพญี่ปุ่นในขณะนั้น หลายปีต่อมา Nippon Kogaku ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพ Optic ให้กับสินค้าของตน ต่อมา Nippon Kogaku ได้ขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยการขายสินค้าให้กับผู้บริโภคทั่วไปเหมือนในปัจจุบันนี้ เริ่มจากการผลิตกล้องจุลทรรศน์ภายใต้ชื่อสินค้าของตนเองคือ Nikko ในปี 1925ในปี 1932 Nippon Kogaku ได้ผลิตเลนส์ถ่ายภาพภายใต้ชื่อ Nikkor เป็นครั้งแรก และยังคงใช้ชื่อนี้ต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ Nikkor เป็นชื่อของเลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพโดยตั้งมาจากการเติมตัว “R” ต่อจากชื่อ “Nikko” ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ในระยะแรก Nikkor ผลิตเลนส์เพื่อใช้กับกล้องถ่ายภาพหลายๆ ยี่ห้อ เช่น Leica และ Contax ต่อมาในปี 1937 Nikkor ก็ได้รับผลิตเลนส์ Nikkor 5cm(50mm) ให้กับบริษัทเกิดใหม่ในขณะนั้นคือ Seiki Kogaku Precision Optical Research Institure ซึ่งต้องการเลนส์คุณภาพดีสำหรับใช้กับกล้องถ่ายภาพ 35มมยี่ห้อ “Hansa Kwanon” ของตนเอง ภายหลังบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Canon และกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ Nikon ในธุรกิจผลิตภัณฑ์ถ่ายภาพจนกระทั่งปัจจุบันนี้ สำหรับการผลิตกล้องถ่ายภาพนั้น Nippon Kogaku ได้ตัดสินใจเลือกพัฒนากล้องถ่ายภาพแบบ Rangefinder ภายใต้ชื่อ Nikon ของตนเองและเริ่มออกจำหน่ายกล้อง Nikon I เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948. ต่อมาได้ออกจำหน่ายกล้อง SLR ตัวแรกคือ Nikon F ในปี ค.ศ. 1959 และได้ออกเลนส์ NIKKOR เมาท์ F ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาด 44 มมสำหรับใช้กับกล้อง SLR ของตนเองและเมาท์เลนส์ F ก็กลายเป็นมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือน ก.ค. 2007 Nikkor ประกาศว่าได้ผลิตเลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพ SLR ครบ 40 ล้านตัวในปี ค.ศ. 2008 นี้ บริษัท Nikon Corporation มีอายุเข้าสู่ปีที่ 91 ถ้าเป็นคนเราอายุขนาดนี้ต้องบอกว่าอยู่ในวัยชราภาพไร้เรี่ยวแรง แต่สำหรับ Nikon นั้นอาจเป็นปีสำหรับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ถ้าดูจากผลประกอบการในรอบหลายปีที่ผ่านมา Nikon สามารถปรับตัวให้เป็นที่นิยมของนักถ่ายภาพทั่วโลกได้ดีขึ้น หลังจากที่เสียความเป็นผู้นำในตลาดกล้องถ่ายภาพให้แก่ Canon มานานหลายปี ในปี ค.ศ. 2007 Nikon ทั่วโลกมีส่วนแบ่งตลาดของกล้อง SLR เทียบเคียงกับ Canon คงต้องดูกันต่อไปว่า Nikon จะสามารถแทนที่ตำแหน่งผู้นำตลาด SLR ของ Canon ได้หรือไม่ ปัจจุบัน Nikon มีบริษัทในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ดูแลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ถ่ายภาพและสินค้าเกี่ยวเนื่อง 36 บริษัท (ไม่รวมบริษัทฯที่ดูแลสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ) และมีตัวแทนจำหน่ายอีกกว่า 75 บริษัททั่วโลก

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เกี่ยวกับการถ่ายภาพทางอากาศ

นี้เป็นเครื่องมือในการถ่ายภาพทางอากาศในเครื่องบิน ควบคุมเส้น flight lines and overlap ด้วยระบบ computer and GPS.
ภาพ กล้องถ่ายรูปทางอากาศ WILD RC10 จาก www.aerialsurvey.com
นี่คือกล้องที่ใช้ในการถ่ายภาพทางอากาศจากเครื่องบินเครื่องบิน BEECHCRAFT QUEEN AIR B 80
มีลักษณะเป็นเครื่องยึดอยู่กับเครื่องบิน(ในรูปมีการนำออกมาจากเครื่องแล้ว)มีวัสดุกันสะเทือนอยู่ที่ขาตั้งทั้ง4เพื่อไม่ให้เกิดการสั่นสะเทือนในขณะถ่ายภาพ
ระบบการทำงานมีลักษณะการตั้งเวลาถ่ายไปตามแนวบิน
การตั้งเวลาขึ้นอยู่กับผู้ใช้


เฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทางอากาศ
โดยมีการนำกล้องออกมาไว้ด้านหน้าของเครื่องบิน
แล้วใช้ผู้ช่วยนักบินเป็นคนถ่ายภาพ




การถ่ายภาพทางอากาศในสมัยเริ่มแรก
เป็นการนำกล้องถ่ายภาพขึ้นไปบนบอลลูนแล้วจึงถ่ายลงมาจากทางอากาศ
ภาพที่ได้ในสมัยนั้นจะได้เป็นลักษณะเฉียง
และหลังจากนั้นจึงพัฒนามาใช้การถ่ายภาพแบบพาโนรามา
แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าไดนัก
จนต่อๆมาพัฒนามาเป็นการถ่ายภาพจากเครื่องบินในแนวTop
แผนที่ภาพถ่ายเป็นรูปแบบหนึ่งของแผนที่มีการบันทึกลักษณะสิ่งปกคลุมภูมิประเทศ รายละเอียดต่างๆที่ได้จากการบันทึกภาพจะคงไว้บนภาพทั้งหมดไม่มีการแปลความหมาย แผนที่ภาพสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับ แผนที่ลายเส้นทั่วไปในการหาพิกัด วัดขนาด และรูปร่างของวัตถุ แผนที่รูปถ่ายได้จากการโมเสค(Mosaic)รูปถ่ายทางอากาศที่ได้ทําการขจัดความคลาดเคลื่อนและฉายตั้งฉากลงบนพื้นผิว(Orthorectify) ภาพถ่ายทางอากาศมีความคลาดเคลื่อนทางตําแหน่งของจุดภาพเนื่องมาจากภาพที่บันทึกได้จากกล้องถ่ายภาพทางอากาศเป็นการฉายชนิดผ่านศูนย์ (perspective projection) ประกอบกับการวางตัวของกล้อง(camera orientation) และความสูงต่ำของพื้นผิวภูมิประเทศ (topography relief) ความคลาดเคลื่อนนี้ สามารถจําลองแบบได้หากทราบพารามิเตอร์ทั้งที่เป็นสาเหตุของความคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะความสูงต่ำของภูมิประเทศจะสามารถนํามาใช้ในการคํานวณปรับแก้ได้ในรูปแบบของแบบจําลองระดับสูง(Digital Elevation Model)

จากเว็บhttp://gis.pwa.co.th/knowledge.php?file=knowledge038

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

















ไม่หยุดนิ่ง
ทุกก้าวย่างมักมีความหมาย
ไม่ว่าจะเดินไปผิดทาง
หรือเดินไปถูกทาง
แต่ทุกครั้งที่เราเดินแม้ไม่มีใครข้างกาย
แต่ไม่ว่ายังไง "เงา" จะอยู่ข้างเราเสมอ
จงเดินไปอย่างกล้าหาญ