วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ถ่ายภาพย้อนแสง

เทคนิคการถ่ายย้อนแสงเงาดำ (Sillhouette)
หาทิวทัศน์ช่วงเวลาเย็น ดวงอาทิตย์ใกล้ตก
จัดเฟรมของภาพให้น่าสนใจโดยเน้นการจัดวางตำแหน่งของดวงอาทิตย์และให้มีวัตถุบังแสงเป็น Foreground เน้นสิ่งที่มีโครงสร้างภายนอกชัดเจน เช่น ต้นมะพร้าว ต้นตาล โขดหิน หญิงสาว เรือ เป็นต้น
ทำการวัดแสงบริเวณที่สว่างบนท้องฟ้าแต่ไม่วัดแสงที่ดวงอาทิตย์โดยตรง
ใช้ขาตั้งกล้อง เนื่องจากต้องใช้ speed shutter ต่ำ
ใช้ F/STOP 11 ลงไปเพื่อให้ได้ความชัดลึก

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Freestye Concert

อาจจะงงว่าทำร้องเพลงอยู่ถ่ายรูปตัวเองได้ขี้โกงแฟนถ่ายให้เอามาทำเครดิตให้ตัวเองถ่ายแบบนี้เค้าเรียกขาดวินัยไร้มารยาท ฉะนั้นใครถ่ายก็ต้องเป็นเครดิตคนนั้นนะครับ แต่รูปนี้หยวนๆนะอิอิอิ
น้องจ๋าวง เดดอะเฮด

ตาขวัญฟอไลฟ์


มือกีตาร์วงสกินอะไรซักอย่าง สกินเฮดมั๊งจำไม่ได้



เปรียวปิ้งเบส




วงแบล๊กดั๊กสปริง





วงแฟตแมน






วงแฟตแมน



จิ๊บวงนักบินอวกาศ



ตาขวัญ

ไอ้เต็ม



ภาพนี้สวยดีนะ

ช่วงนี้ผลงานไม่ค่อยได้ออกมาสู่สายตาประชาชีเท่าไรนักเพราะไม่มีเวลาถ่ายเรียนก็หนักงานก็เยอะ
ถึงขนาดทุกวันนี้ผมต้องลาออกจากวงดนตรีที่สร้างมากะมือเพื่อทุ่มให้กะการทำแลปทำการบ้านและการสอบ
ซึ่งตอนนี้ถือได้ว่ายากจนเต็มขั้นแล้ว555+
ยังซะพอหมดฤดูแห่งการทำงานทำแลปและการสอบไปผมคิดว่าผมคงมีรายได้กลับมาใช้เพื่อกการซื้อเลนส์และอัพเกรดกล้องและชีวิตผมอีกครั้ง
ซึ่งรู้ไม๊ว่าการหยุดร้องเพลงมันทำให้ผมแทบขาดใจเพราะว่านักร้องคนนึงมันหลบอยู่ในตัวของผมและมันตะโกนเสียงดังทุกวันว่า"ปล่อยกู!!!"แต่ทำไงได้ผมก็ตอบกลับไปว่า"เออน่า เอาไว้ถึงเวลากูจะปล่อยมึงช่วงนี้ก็ฟังๆฝึกๆไปก่อนเด้อ!!"
ครับเท่านี้ล่ะ

Location

แนวคิดการใช้ที่ดินทางการเกษตรและรูปแบบการเกษตร
1 การใช้ที่ดินทางการเกษตร
สำหรับการใช้ที่ดินทางการเกษตรนั้นจะใช้แบบจำลองการใช้ที่ดินของ von Thünen เพื่ออธิบายการใช้ที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่ โดยแบบจำลองของ von Thünen ได้อธิบายถึงทำเลที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากตลาดและค่าขนส่งสินค้าจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน ซึ่ง von Thünen ได้แบ่งเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 6 เขตตามความเข้มของการใช้ที่ดินจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยใช้เมืองเป็นศูนย์กลาง เขตที่ 1 เป็นเขตการผลิตที่ผัก ผลไม้ ที่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มาก ผลผลิตเน่าเสียค่อนข้างง่าย จึงเป็นเขตที่อยู่ใกล้กับชุมชนเพื่อสะดวกในการดูแลและขนส่ง เขตที่ 2 เป็นเขตที่มีการผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่มีน้ำหนักมากแต่มูลค่าต่ำ เช่น ไม้ท่อน ฟืน เพื่อสะดวกในการขนส่ง เขตที่ 3 เป็นเขตที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน 6 ปี มีการใช้ที่ดินแบบเข้มปานกลาง ไม่มีการปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างเลย เขตที่ 4 เป็นเขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้ที่ดินที่หมุนเวียนกันไประหว่างการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ โดยที่เมื่อหยุดใช้พื้นที่เพาะปลูกแล้วจะใช้ เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์แทน มีการใช้ที่ดินไม่เข้มข้นมากนัก เขตที่ 5 เขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หมุนเวียน มีการใช้ที่ดินที่ค่อนข้างจะเบาบาง โดยมีการหมุนเวียนใช้พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่เพาะปลูกจะถูกพักดินไว้เพื่อนำมาเป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ที่เคยเลี้ยงสัตว์จะถูกนำมาใช้ในการเพาะปลูกอีกครั้ง และเขตที่ 6 เป็นเขตของการเลี้ยงสัตว์แบบขยาย เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง (เสน่ห์ ญาณสาร, 2539; Ilbery, 1985; Singh and Dhillon, 2004; Symons, 1978)



2 รูปแบบการเกษตร
ในอดีตนั้นในการทำกิจกรรมทางการเกษตรนั้นอาศัยปัจจัยทางด้านกายภาพเป็นหลัก เนื่องจากเป้าหมายในการผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือนและมีการแบ่งส่วนที่เหลือจากการบริโภคใช้ในการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ให้เกษตรกรจึงไม่ต้องแบกรับภาระทางด้านการตลาด การผลิตของเกษตรกรเป็นการผลิตที่มีความหลากหลาย โดยการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ไปพร้อมกับการเพาะปลูกด้วย สัตว์ที่นิยมเลี้ยง เช่น แพะ แกะ สุกร เป็นต้น ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรจากการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่ (เสน่ห์ ญาณสาร, 2539; Ilbery, 1985; Singh and Dhillon, 2004)
หลังจากการปฏิวัติเขียวแล้วกระบวนการผลิตทางการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวัตถุประสงค์ของการผลิต และชนิดของพืชและสัตว์ โดยที่มีการมุ่งเน้นเพื่อเป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น การเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์จึงเป็นแบบเชิงเดี่ยวมากกว่าที่จะทำแบบหลากหลายเหมือนอย่างในช่วงแรก ทำให้เกษตรกรนอกจากจะพึ่งปัจจัยทางกายภาพในการผลิตแล้ว ปัจจัยอื่นๆทั้งปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยทางเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในกระบวนการผลิตอย่างมาก ทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตแบบเข้มทั้งด้านการลงทุน การใช้สารเคมีและยากำจัดศัตรูพืช การลงทุนเพื่อสร้างแหล่งน้ำทางการเกษตร บางส่วนนั้นต้องประสบกับปัญหาการขาดทุน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ทำให้เกษตรกรต้องหันกลับไปประกอบกิจกรรมทางการเกษตรแบบหลากหลายเพิ่มมากขึ้นทั้งการเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก และการทำประมงน้ำจืด (Ilbery, 1985; Neef and Heidhues 2005; Singh and Dhillon, 2004) เพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการผลิตทางการเกษตรทั้ง 4 ปัจจัย และเพื่อความมั่นคงในอาชีพทางการเกษตรกรรม การเลือกแนวประกอบอาชีพที่หลากหลายเป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งผลให้อาชีพเกษตรกรมีความมั่นคงขึ้น
ในปัจจุบันนี้ระบบการเกษตรส่วนใหญ่มีอยู่ทั้ง 2 รูปแบบ คือ ระบบการเกษตรแบบยังชีพแบบเข้ม หรือระบบการเกษตรกึ่งยังชีพกึ่งการค้า และระบบการเกษตรแบบการค้า โดยระบบการเกษตรกึ่งยังชีพกึ่งการค้า ผลผลิตที่ได้นั้นจะนำมาใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือน บางส่วนจะถูกนำเอาไปขายเพื่อเป็นรายได้ของครัวเรือน การเพาะปลูกจะมีการทำทุกปีไม่มีเว้นช่วง จะปล่อยพื้นที่ทิ้งร้างในช่วงที่ขาดแคลนน้ำฝนในการทำการเกษตร มีการใช้แรงงานและปุ๋ยในอัตราที่สูงต่อพื้นที่ ส่วนผลผลิตที่ได้นั้นไม่มีความแน่นอน แปรผันตามลักษณะภูมิอากาศ ซึ่งเกษตรกรได้แก้ปัญหาความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศด้วยการทำการผลิตผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน นอกจากนี้เกษตรกรยังมีการนำเอาเทคโนโลยีขนาดเล็กเข้ามาช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตร (Grigg, 1995; Singh and Dhillon, 2004; เสน่ห์ ญาณสาร, 2539)
ส่วนระบบการเกษตรเพื่อการค้า เป็นการทำการเกษตรที่เน้นการผลิตเฉพาะอย่าง โดยเจาะจงตามที่ตลาดมีความต้องการผลผลิตเหล่านั้น จุดประสงค์หลักของการเกษตรแบบนี้คือผลิตเพื่อขาย โดยกลไกของตลาดจะเป็นตัวกำหนดให้มีการผลิตผลผลิตออกมา เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือผลตอบแทนที่ได้รับสูงสุด (Pacione, 1986; Singh and Dhillon, 2004; Symons, 1978; วันเพ็ญ สุรฤกษ์, 2547) ในการทำการเกษตรเพื่อการค้านั้นมีการใช้พื้นที่กว้าง แต่แรงงานที่ใช้ต่ำ เนื่องจากมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่และเครื่องจักรเข้ามาช่วยทำงานแทนแรงงานคน เงินทุนที่ใช้นั้นใช้เงินทุนค่อนข้างสูง ซึ่งทุนส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิตและค่าเครื่องจักร เกษตรกรต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อเน้นคุณภาพของผลผลิต ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
นอกจากนี้แล้วการผลิตทางการเกษตรยังแบ่งการผลิตออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การเพาะปลูก เป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพืชทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช การเพาะขยายพันธุ์พืช โดยใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ทางการเกษตร (Grigg, 1995; Ilbery, 1985; Singh and Dhillon, 2004) ผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกนั้นจะได้รับจากผลผลิตทั้งทางตรงคือส่วนของพืชที่เพาะปลูกได้แก่ ลำต้น ราก หัว ใบ ผล เมล็ด เป็นต้น และส่วนที่ได้ทำการแปรรูปแล้ว เช่น น้ำยาง แป้ง เรซิ่น เป็นต้น รูปแบบที่ 2 การเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์บกประเภท โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ด ผลผลิตที่ได้นั้นจะได้ทั้งจากตัวสัตว์โดยตรงคือ เนื้อ ไข่ นม และผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปสัตว์ เช่น เนย ไขมัน ขนสัตว์ เป็นต้น (Pacione, 1986; Singh and Dhillon, 2004; Symons, 1978) และรูปแบบสุดท้ายคือ การทำประมงน้ำจืด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดทั้งหมด รวมทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวก กบ จระเข้ และตะพาบน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ในการเลี้ยงในเขตน้ำจืด เช่น บริเวณแม่น้ำที่ห่างจากปากแม่น้ำ พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่มักจะเป็น ปลา กุ้งน้ำจืด กบ เป็นต้น ผลผลิตที่ได้นั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเนื้อ บางชนิดซากของสัตว์เหล่านั้นสามารถขายได้ เช่น หนังจระเข้ กระดูกกบ กระดองตะพาบ เป็นต้น (ประโยชน์ เตชะเพียวเลิศ, 2545; Neef and Heidhues, 2005)
นอกจากเกษตรกรจะทำการเกษตรทั้ง 3 รูปแบบแล้ว การประกอบกิจกรรมทางการเกษตรมากกว่าหนึ่งรูปแบบเป็นการทำการเกษตรที่มีความหลากหลายขึ้น โดยเกษตรกรจะเลือกกิจกรรมทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งเกษตรกรนิยมนำเอากิจกรรมที่ส่งเสริมกันมาทำด้วยกัน เช่นการเพาะปลูกกับการเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์กับการประมง หรือการที่เกษตรกรทำการเกษตรทั้งสามรูปแบบทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และทำการประมงพร้อมๆกันไปด้วย (Iiyama et al., 2007; Neef and Heidhues, 2005; Singh and Dhillon, 2004) เช่น การทำไร่นาสวนผสม การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น (วันเพ็ญ สุรฤกษ์, 2547) กิจกรรมเหล่านี้สร้างความหลากหลายให้เกษตรกรในการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงจากปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการทำการเกษตรของเกษตรกร สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจากหลายทางและหลายกิจกรรม ส่งผลให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำกิจกรรมทางการเกษตร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำกิจกรรมทางการเกษตรประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ซึ่งในแต่ละปัจจัยนั้นล้วนมีบทบาทในการกำหนดรูปแบบทางการเกษตรและการใช้ที่ดินทางการเกษตร
ปัจจัยทางด้านกายภาพ มีอิทธิพลโดยตรงกับรูปแบบการเกษตรและการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ประกอบด้วย 1) ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ความสูงต่ำของพื้นที่ ความลาดชัน ความสูง และทิศทางการไหลของน้ำ 2) ลักษณะภูมิอากาศ ได้แก่ ความชื้น แสงแดด ลม ปริมาณฝน และการระเหยของน้ำ 3) สมรรถนะของดิน ได้แก่ ปริมาณสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ความเป็นกรด-ด่าง ความลึก แร่ธาตุในดิน ความพรุนของดิน และอุณหภูมิของดิน 4)ลักษณะทางชีวภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในห่วงโซ่อาหารซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ทั้งพืช จุลชีพ และแมลง และ 5) แหล่งน้ำ (วันเพ็ญ สุรฤกษ์,2538; Grigg, 1995; Ilbery, 1985; Morgan and Munton, 1971) ซึ่งในกลุ่มเกษตรในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการทำกิจกรรมทางการเกษตร เนื่องจากขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไปช่วยในการจัดการ ในส่วนของประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว ปัจจัยเหล่านี้ เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อควบคุมปัจจัยทางด้านกายภาพ เพื่อดัดแปลงหรือปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับชนิดของพืชหรือสัตว์ที่เกษตรกรทำการผลิต
ปัจจัยทางด้านสังคม ประกอบด้วย 1) ขนาดของครัวเรือน ได้แก่การมีครัวเรือนขนาดที่เล็กลงซึ่งเกิดจากการแยกครัวเรือนออกไป ทำให้แรงงานในภาคการเกษตรมีจำนวนน้อยลง (ปริญญา ใจเถิง, 2544) 2) ความสัมพันธ์ในชุมชน เกษตรกรจะได้รับข่าวสารเกี่ยวกับรูปแบบของกิจกรรมทางการเกษตรใหม่ จากการพบปะกันในชุมชน ทำให้เกษตรกรตัดสินใจได้เร็วขึ้นในการเปลี่ยนแปลงการเกษตร (วิชัยชาณ นวนไหม, 2547) 3 ) การแพร่กระจายของนวัตกรรม เป็นกระบวนการที่สามารถบ่งบอกถึงความเชื่อ จิตวิทยา และพฤติกรรมของคนในแต่ละศาสนาหรือความเชื่อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการรับรู้ข่าวสาร การร่วมกลุ่มกัน เป็นต้น และ 5) การเปลี่ยนแปลงประชากร ทั้งที่เกิดจากการภาวะการเกิด การย้ายถิ่น และภาวะการตาย ย่อมส่งผลต่อขนาดของที่ดินที่ถือครอง ปัญหาด้านแรงงานในด้านการเกษตร ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบและการทำกิจกรรมทางการเกษตรของเกษตรกร
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) ที่ดินและการถือครองที่ดิน เป็นปัจจัยที่มีลักษณะเฉพาะมีปริมาณที่คงที่ ลักษณะการใช้จะแตกต่างกันไปตามพื้นที่และตามปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น คุณภาพของดิน ที่ตั้ง ราคา เป็นต้น 2) แรงงาน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการผลิตเป็นอย่างมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงงานได้แก่ ขนาดของพื้นที่ทางการเกษตร ค่าจ้างแรงงาน ความต้องการในปริมาณผลผลิต ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญของแรงงาน แรงงานในภาคการเกษตรส่วนใหญ่นั้นมักเป็นเกษตรรายย่อย ที่มีที่ดินน้อยหรืออาจจะไม่มีที่ดินทำกินเลย ส่วนเกษตรรายย่อยนั้นมีการใช้พื้นที่ที่ไม่เข้มข้นเมื่อหมดกิจกรรมในพื้นที่ของตนเองแล้วก็มักจะไปรับจ้างเป็นแรงงานให้กับนายทุนที่มีพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ (วันเพ็ญ สุรฤกษ์, 2547;Ilbery, 1985) 3) ทุน เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเกษตร ปัจจัยที่สำคัญคือเงินทุน นำมาซึ่งปัจจัยการผลิตได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทำให้มีการเกิดกิจกรรมทางการเกษตรขึ้นแหล่งทุนของเกษตรกรมาจาก 4 แหล่งด้วยกันคือ แหล่งทุนของเกษตรกรเอง เงินกู้จากเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง นายทุน เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร สถาบันการเงินของเอกชน และสถาบันการเงินของรัฐ 4) การประกอบกิจกรรม เป็นการนำเอาปัจจัยการผลิตทั้ง 3 มารวมกัน ได้แก่ ที่ดิน ทุน และแรงงาน ทำให้เกิดการตัดสินใจในการผลิตโดยมุ่งหวังผลกำไรสูงสุด และ 5) ตลาดและการขนส่ง มีผลต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและเทคโนโลยี ซึ่งแบ่งตลาดออกเป็น 2 ระดับ คือ ตลาดท้องถิ่นทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตในขั้นต้น การแข่งขันต่ำ และตลาดต่างถิ่น เป็นตลาดในระดับที่ใหญ่กว่าท้องถิ่น มีการแข่งขันในระดับที่สูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สมบูรณ์ สามารถกำหนดราคาผลผลิตทางการเกษตรโดยพ่อค้าคนกลาง ส่วนการขนส่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับตลาด ซึ่งค่าขนส่งนั้นนำเอาไปคิดรวมกับราคาต้นทุนการผลิตด้วยเช่นกัน
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการผลิตเพื่อการค้า ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงทางการตลาด ดังนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม เพื่อช่วยในการลดต้นทุนทางการผลิต ได้แก่ 1) การคัดเลือกพันธุ์พืช ให้มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตและมีผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและตรงกับตวามต้องการของตลาด 2) การดูแลรักษา ปัจจุบันการเกษตรสมัยใหม่ต้องอาศัยการดูแลรักษาผลผลิตที่กำลังเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง และในปัจจุบันมีการนำเอาสารเคมีมาช่วยในการดูแลรักษาด้วยเช่นกัน เช่น ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี เป็นต้น (Grigg, 1995) 2) วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิต การขนส่งไปยังที่พัก โรงเรือน การบรรจุหีบห่อ การคัดขนาด การขนส่งไปยังตลาด และ 4) การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อเป็นการทุ่นแรงงานจากคน เป็นการลดต้นทุนทางการผลิตอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด
ในการศึกษาพัฒนาการของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรและรูปแบบทางการเกษตรจะใช้แนวคิดดังกล่าวนี้อธิบายถึง รูปแบบการใช้ที่ดิน ลักษณะการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน พัฒนาการของระบบในพื้นที่ ปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและรูปแบบทางการเกษตร
4. แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร
4.1 การเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร
เกษตรกรมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกษตรทั้ง 4 ปัจจัย ย่อมส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรนั้น เกษตรกรจะเลือกให้มีความเหมาะสมกับปัจจัยทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดด้วยกันประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงชนิดของพืชที่ปลูก ซึ่งเกษตรกรจะเลือกพืชให้มีความเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ความต้องการของตลาด หรือแม้แต่การขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้เกษตรกรต้องหาแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดในการดำเนินการ เกษตรกรอาจเลือกเอาพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวในระยะสั้นมาปลูกแทนการปลูกพืชระยะยาว หรือการนำเอาพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวและสามารถเก็บเกี่ยวได้ระยะยาวมาปลูกแทนพืชที่ปลูกระยะสั้น เช่นการปลูกยางพาราแทนการปลูกข้าว การปลูกพืชสวนแทนการปลูกถั่วเขียวหรือถั่วเหลือง เป็นต้น (ภาณุพงศ์ บรรเทาทุกข์, 2546; มัณฑนา ทิพย์วารีรมย์, 2545)
การเพิ่มความเข้มในการผลิต โดยการทำให้เกิดความหลากหลายทางการเกษตรขึ้นในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเป็นลดความเสี่ยง และประหยัดต้นทุนทางการผลิต อันเนื่องมาจากการขาดแรงงานทางด้านการเกษตร เกษตรกรจึงมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำการเกษตร เพื่อลดขั้นตอนการทำงานลง และสามารถที่จะมีรอบการผลิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี รวมทั้งผลผลิตที่ได้นั้นมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการอีกด้วย ส่งผลทำให้เกษตรกรนอกจากลดความเสี่ยงจากปัจจัยทั้ง 4 แล้ว ยังสามารถสร้างผลกำไรจากทำการเกษตรเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน (รัชฎา โสธนะ, 2546)
การปลูกพืชเฉพาะอย่าง (Special Crops) เป็นการทำกิจกรรมทางการเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนของผลผลิตที่จะได้ เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึงปลูกพืชหรือทำกิจกรรมเชิงเดี่ยว โดยที่เกษตรกรจะต้องแบกรับความเสี่ยงของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกษตรทั้ง 4 ปัจจัย เนื่องจากเป็นการผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรจะลดความเสี่ยงด้วยการเข้าไปทำการเกษตรแบบพันธะสัญญา ทำให้เกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์เป็นเชิงเดี่ยวมากขึ้น เช่น การเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ การเลี้ยงสุกร การทำสวนยางพารา การทำไร่ชา การปลูกข้าวโพด และการทำไร่ยาสูบ เป็นต้น (Fellmann et al., 2005)
นอกจากนี้แล้วการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรยังสามารถใช้แนวทางในการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันด้วย เช่นการเปลี่ยนชนิดของพืชหรือสัตว์ พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของความเข้มในการผลิต การเพิ่มขึ้นของความเข้มในการผลิตพร้อมๆกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นต้น ซึ่งตัวเกษตรกรจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกษตร และผลกำไรที่เกษตรกรจะได้รับ
4.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร
ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรจากการเกษตรแบบดั้งเดิมหรือแบบยังชีพไปเป็นการเกษตรเพื่อการค้านั้น นอกจากปัจจัยทางกายภาพที่ประกอบไปด้วยสภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะของดิน ทรัพยากรและแหล่งน้ำ (วันเพ็ญ สุรฤกษ์, 2547) ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์แล้ว ปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตร ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยคือ นโยบายของภาครัฐ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และปัจจัยที่ตัวของเกษตรกรเอง (Timmer, 1990) ปัจจัย 5 ประการของ Mosher (1966) อ้างใน Arnon (1987) ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรประกอบด้วย 1) ตลาดรองรับสินค้าการเกษตรอย่างเพียงพอ 2) มีการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเพื่อให้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาวะแวดล้อม และช่วยเพิ่มผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้น 3) การมีพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาการเกษตรอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่มีส่วนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจกรรมทางการเกษตร เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบชลประทาน เป็นต้น 4) การส่งเสริมด้านการเกษตร เป็นวิธีการที่ทำให้เกษตรกรได้รับรู้ข่าวสาร มีความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่มากขึ้น เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้ว่าหากนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในระบบการเกษตรแล้วสามารถที่จะมีตลาดรองรับสินค้าการเกษตรอย่างแน่นอน 5) ระบบการขนส่งที่เพียงพอ ทำให้การลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรสู่ตลาดมีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีผลผลิตที่ตกค้างก่อให้เกิดความเสียหายทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงด้วย นอกจากนี้ Kulp (1970) อ้างใน Arnon (1987) ได้แบ่งปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตร 3 กลุ่มประกอบด้วย 1) ความสมบูรณ์ของนวัตกรรมใหม่ 2) ราคาของผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่ในระดับที่สูงและ 3) ผลกำไรที่ได้รับจากการขายผลิตผลทางการเกษตรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรนั้นนอกจากปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยที่เป็นตัวเร่งแล้ว นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลทำให้มีการพัฒนารูปแบบการเกษตรจากระบบเพื่อการยังชีพไปเป็นระบบการเกษตรเพื่อการค้า ซึ่งประกอบด้วย
1) การสร้างเทคโนโลยีทางการเกษตรขึ้นมาใหม่ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในสภาพปัจจุบัน
2) การนำเอาความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่เข้าไปเผยแพร่กับตัวเกษตรกร ซึ่งนอกจากการเผยแพร่แล้วจะต้องทำการฝึกฝนให้กับเกษตรกร ฝึกให้ตัวเกษตรกรสร้างแนวความคิดที่จะใช้เทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น
3) การเตรียมพร้อมรับกับสิ่งใหม่ ซึ่งตัวเกษตรกรต้องพร้อมสำหรับการเปลี่ยนกระบวนการในการผลิต พร้อมรับความเสี่ยงด้านราคาและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานในการผลิตนั้นต้องมีรองรับอย่างเพียงพอทั้งระบบชลประทาน ระบบขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อให้ตัวเกษตรกรมีความมั่นใจต่อการเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปพร้อมๆกัน
4) การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนโดยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผน มีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้า การตัดสินใจจะอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เข้าท่าดี แต่ยังไม่ได้โหลดมาลอง

OrthoMaster


OrthoMaster เป็นซอฟต์แวร์ที่ล้ำสมัยสำหรับการจำลองภาพ orthorectification ในระบบดิจิตอล ซอฟต์แวร์นี้ได้นำเสนอการการปฏิบัติการระบบอัตโนมัติระดับสูงเพื่อที่จะได้การผลิตภาพในระบบ ortho ที่มีสมรรถภาพสูงที่สุด
OrthoMaster สามารถทำให้เกิดภาพในระบบ ortho ที่มีคุณภาพสูง เช่นภาพระบบดิจิตอลที่มีสเกลที่แน่วแน่แม่นยำ การใช้ภาพทางอากาศระบบดิจิตอล ข้อมูลที่มีเจาะจงไปที่ภาพ และการจำลองภาพพื้นดินระบบดิจิตอลเปรียบเสมือนเป็นแหล่งที่มาของข้อมูล (DTMs) OrthoMaster สามารถทำงานได้ทั้งการจำลองภาพเดี่ยวหรือการจำลองภาพทางอากาศแบบทั้งบล็อก
กระบวนการแก้ไขที่แตกต่างกันแต่ให้ความแม่นยำสูงเป็นการปฏิบัติการแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ในกรณีนี้ไม่มีข้อมูล DTM ปรากฎอยู่ การแก้ไขไปยังเครื่องบินนั้นเป็นไปได้ ถ้ามีการต้องการ OrthoMaster สามารถทำให้เกิดภายในระบบซอฟต์แวร์และยังทำให้เกิดจากข้อมูล ASCII เช่นการทำให้เกิดจุด XYZ และเบรคไลน์
OrthoMaster ยังสามารถทำให้เกิดภาพ ortho ที่แท้จริงและภาพ mosaics โดยการผสมผสานกับซอฟต์แวร์ OrthoVista วัตถุสามมิติทั้งหมดที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นอาคารสิ่งก่อสร้างและสะพานที่ไม่สามารถนำเข้าไปรวมหรือผสมผสานกับ DTM จะทำให้เกิดความไม่เสมอกันของระดับพื้นดินในภาพจำลองหลังจากใช้ orthorectification แบบทั่วไป OrthoMaster มีประสิทธิภาพในการกำจัดความไม่เสมอกันของระดับพื้นดินในภาพจำลองโดยการนำข้อมูลสามมิติมาอินเตอร์เซคกัน ถ้าเป็นไปได้โดยใช้ DTM แบบพื้นฐานและใช้อัลกอริธึ่มในการคำนวณสำหรับการทำให้เกิดภาพ ortho ที่ได้คุณภาพดีที่สุด

ลักษณะเฉพาะ
มีการปฏิบัติงานอัตโนมัติในการจำลองภาพเดี่ยว
มีการปฏิบัติงานอัตโนมัติของบล็อคที่มีการจำลองภาพทางอากาศ
การทำให้เกิดภาพ ortho ในเฟรมที่ติดตั้งหรือปรับไว้ล่วงหน้า
มีนิยามของการทำให้พื้นที่ ortho ที่ดีที่สุดสามารถเปลี่ยนแปลงได้
DTM geneation เป็นระบบ on-the fly จากข้อมูล ASCII
ใหม่ล่าสุด
เป็นระบบอัตโนมัติ กึ่งอัตโนมัติ และ manual
สามารถนำข้อมูลในพื้นที่ที่สนใจเข้ามาได้
ปรับปรุงการจัดการ breaklines และ breaklines ที่อยู่ใต้สะพานสำหรับการทำให้เกิดภาพ ortho ที่แท้จริง
การทำให้เกิดและการแสดงเส้นเค้าโครง
เป็นทางเลือกสำหรับการจัดการ parameters ทีมีรัศมีที่บิดเบียว
ประเภทของแหล่งที่มาของภาพ :
scanned images of aerial frame cameras
prepared for digital frame cameras
prepared for digital line cameras
รูปแบบของภาพที่เป็น input :
TIFF (scanlined/ tiled /JPEG)
ers, ecw (ER Mapper)
การนำเข้าข้อมูลจาก / โดย
MATCH-AT/T, inBLOCK, PATB, DAT/EM Summit, PHOREX2, Z/I project, Aerosys, Bingo, BLUH, MMH850, ISM/DIAP and more
import of complete project file or interior and exterior orientation read from separate files
การนำเข้าข้อมูล DTM (binary) :
SCOP, GeoTIFF, TiffWorld (tfw)
ers, ecw (ER Mapper)
การนำเข้าข้อมูล DTM (ASCII) :
XYZ mass points & break/form lines
DXF files
import of multiple raw data files per project
รูปแบบของภาพที่เป็น output :
GeoTiff, TiffWorld (tfw)
ers (ER Mapper)
OrthoMaster และ OrthoVista ที่มีอยู่เปรียบเสมือนซอฟต์แวร์ OrthoBox ที่นำเสนอสมรรถนะการทำงานสำหรับการผลิตภาพ ortho ระบบดิจิตอล
Demo เวอร์ชั่นสำหรับการประเมินซอฟต์แวร์ของสินค้า OrthoMaster และ OrthoVista ได้มีพร้อมสำหรับดาว์นโลด์อยู่ใน web site ของเรา www.inpho.de.
ประโยชน์
สามารถใช้ได้กับฟอร์แมทของข้อมูลมากมาย (AT results)
ใช้เวลาในการทำงานน้อยถึงแม้ว่าจะเป็นโปรเจคที่ใหญ่
สามารถจัดการ DTM ที่มีขนาดใหญ่มากๆได้
สะพาน อาคารสิ่งก่อร้าง และ breaklines สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสมในกระบวนการ DTM
สามารถทำให้ข้อมูลมีการไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการทำสีให้สมดุลในระดับ advance และ mosaick ใน OrthoVista